เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตฯ

เป้าหมาย(Understanding Goal) :
การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)

Week 7 - 9 : การประมาณค่า


Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับการประมาณค่าที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในหน่วยนี้


เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการให้เหตุผลในการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ โดยการสื่อสารและนำเสนอ ใช้วิธีประมาณค่าเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคิดคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปรับใช้ความรู้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome






7 - 9

8 - 26
 ธ.ค. 2557

โจทย์
การประมาณค่า

Key  Questions
- ให้นักเรียนปัดเศษ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบและจำนวนเต็มร้อย
- นักเรียนคิดว่าค่าของ 17,855  +  42,028 โดยวิธีปัดเศษมีค่าประมาณเท่าไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับการปัดเศษใช้ในการประมาณค่า
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
Wall Thinking ติดชิ้นงานนิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เกม ความยาวประหลาด และการคาดเดา
- คอมพิวเตอร์ GSP
- แผ่นโจทย์การประมาณค่า
- สี / ปากกา / กระสีแข็ง
ชง :  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา ครูยกตัวอย่างโจทย์เกม
ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ฝึกโจทย์ทักษะการคิด
- ครูพานักเรียนเล่นเกม ความยาวประหลาด และการคาดเดา
เชื่อม : นักเรียนเล่นเกม ฝึกการคิดเชื่อมโยงสู่ความรู้เดิมของแต่ละคน
- ร่วมสรุปถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกมการคิดเกี่ยวกับการคาดเดาการกะประมาณค่าของความยาวนั้น
- นักเรียนออกแบบเกมกิจกรรมการเล่น เกี่ยวกับการกะประมาณมานำเสนอครูและเพื่อนๆ ที่จะทำเกมให้น้องหรือผู้อื่นสามารถเล่นและร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันได้
- ครูเล่าเกี่ยวกับการปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็มสิบที่ใกล้เคียงที่สุดทำได้โดยพิจารณาที่เศษของสิบ ถ้าเศษของสิบมีค่าน้อยกว่า5 ให้ตัดทิ้ง แต่ถ้าเศษของสิบที่มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป ให้ปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มสิบ เช่น
1, 342 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มสิบได้ 1,340 เนื่องจากเศษของสิบ คือ 2 ซึ่งน้อยกว่า 5 ให้ตัดทิ้ง
1,345 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มสิบได้ 1,350 เนื่องจากเศษของสิบ คือ 5 พอดีจึงปัดเศษขึ้นไปเป็นจำนวนเต็มสิบ
1,347 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มสิบได้ 1,350 เนื่องจากเศษของสิบ คือ 7 ซึ่งมากกว่า 5 จึงปัดเศษขึ้นไปเป็นจำนวนเต็มสิบ
ในทำนองเดียวกัน การปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็มร้อยที่ใกล้เคียงที่สุดทำได้โดยพิจารณาเศษของร้อย ถ้าเศษของร้อยมีค่าน้อยกว่า 50 ให้ตัดทิ้ง แต่ถ้าเศษของร้อยมีค่าตั้งแต่ 50 ขึ้นไป ให้ปัดขึ้นเป็นจำนวน เต็มร้อย เช่น
1,340 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มร้อยได้ 1,300 เนื่องจากเศษของร้อย  คือ 40 ซึ่งน้อยกว่า50 จึงตัดทิ้งไป
1,370 ปัดเศษเป็นจำนวนเต็มร้อยได้ 1,400 เนื่องจากเศษของร้อย  คือ 70 ซึ่งมากกว่า50 จึงปัดเศษขึ้นไปเป็นจำนวนเต็มร้อย
ชง : ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด “ให้นักเรียนปัดเศษ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบและจำนวนเต็มร้อย
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมากระทำข้อมูลนำเสนอร่วมกัน
- เพื่อนๆ และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจหลักการใช้เรียกชื่อของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
- ครูช่วยจัดระบบวิธีคิดของนักเรียน
Ex วิธีคิด
ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบ คือ
เขียนแทนด้วย 35,477  35,480
ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มร้อย คือ 35,500
เขียนแทนด้วย 35,477   35,500   
ชง : ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด “นักเรียนคิดว่าค่าของ 17,855  +  42,028 โดยวิธีปัดเศษมีค่าประมาณเท่าไร
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิดร่วมกัน
- นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจหลักการใช้เรียกชื่อของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
- ครูช่วยจัดระบบวิธีคิดของนักเรียน
Ex วิธีคิด
หาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มพันของแต่ละจำนวนได้  ดังนี้
17,855     18,000
42,028     42,000
และ  18,000  +  42,000  =  60,000

ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้ของหน่วยการประมารค่าทางคณิตศาสตร์
- นักเรียนทำใบงานการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
- สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)

ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับโจทย์สถานการณ์การหาพื้นที่
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณในรูปแบบที่หลากหลาย
- ทำชิ้นงานสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์การใช้การประมาณค่าในการคำนวณที่กำหนดให้และสรุปหน่วยการเรียนรู้การประมาณค่า

ชิ้นงาน
- สรุปการเรียนรู้ของหน่วยการประมารค่าทางคณิตศาสตร์
-  ใบงานการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
- สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)

ความรู้
การให้เหตุผลในการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ โดยการสื่อสารและนำเสนอ ใช้วิธีประมาณค่าเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคิดคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับการใช้การประมาณค่าในการคำนวณและสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ ร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- ส่งงานตรงเวลา เมื่อได้การบ้าน ในเช้าวันถัดมานักเรียนฝึกทำการบ้านและส่งงานทุกครั้ง
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ อย่างมีความประณีต
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดียว ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขณะที่มีผู้นำเสนอ คนที่รับฟังเขียนขมวดความเข้าใจลงในสมุดทดคิด



เรื่องเป็นหัวใจสำคัญในเรื่องของจำนวนNumber Sense ในระดับ ม.1 (เตรียมก่อนเรียนที่ท้าทายขึ้น)
_ นักเรียนได้เรียนรู้หลักการประมาณค่า จากตัวอย่างสถานการณ์จริงที่ครูเตรียมไว้ให้ เช่น บัตรตัวเลขให้นักเรียนไปแปลงค่าเป็นค่าประมาณใกล้เคียงในหลักต่างๆ
เช่น ให้นักเรียนที่ได้บัตรตัวเลขปัดเศษ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบและจำนวนเต็มร้อย
วิธีคิด..       ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบ คือ
                  เขียนแทนด้วย 35,477  35,480
                  ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มร้อย คือ 35,500
                  เขียนแทนด้วย 35,477   35,500                                                    
          หมายเหตุ :  เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำว่า "ค่าประมาณ"
_นักเรียนมีพื้นฐานต่างๆ ในเรื่องของจำนวนต่างๆ ที่เขาเคยประมาณค่าอย่างง่ายมาในระดับประถมศึกษา ครูจึงชงด้วยโจทย์ดังกล่าว เพื่อเชื่อมเข้าสู่เนื้อหาสู่การเรียนรู้
พอนักเรียนเริ่มจับpattern ของการปัดเศษได้แล้ว ครูจึงนำโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นมาให้ทุกคนคิด เป็นโจทย์เกี่ยวกับทศนิยม
ซึ่งถ้าหากเป็นเศษของทศนิยมจะมองตรงข้างกันของจำนวนเต็ม เช่น ให้นักเรียนปัดเศษจำนวนที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ให้เป็นทศนิยมสองตำแหน่ง และทศนิยมสามตำแหน่ง
วิธีคิด         1)   ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 0.3579 ให้เป็นทศนิยมสองตำแหน่ง  คือ 0.36
                        ดังนั้น 0.3579   0.36
                        ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 0.3579 ให้เป็นทศนิยมสามตำแหน่ง  คือ 0.358
                        ดังนั้น 0.3579   0.358
                  2)   ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 12.6639 ให้เป็นทศนิยมสองตำแหน่ง  คือ 12.66
                        ดังนั้น 12.6639   12.66
                        ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 12.6639 ให้เป็นทศนิยมสามตำแหน่ง  คือ 12.664
                        ดังนั้น 12.6639   12.664


_จากหน่วยย่อยนี้การประมาณค่านักเรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหา, การคิดวิเคราะห์รวมทั้งคิดอย่างสร้างสรรค์, การวางแผน, การเรียนรู้แบบรูปที่ซ่อนอยู่ เป็นต้น ล้วนเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งทางคณิตฯ
และนักเรียนทุกคนได้สรุปการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ม.1 ใน Quarter 3/2557 ลงในกระดาษA4




กิจกรรมบรรยากาศการเรียนรู้ การนำเสนอข้อมูล

1 ความคิดเห็น:

  1. เรื่องเป็นหัวใจสำคัญในเรื่องของจำนวนNumber Sense ในระดับ ม.1 (เตรียมก่อนเรียนที่ท้าทายขึ้น)
    _ นักเรียนได้เรียนรู้หลักการประมาณค่า จากตัวอย่างสถานการณ์จริงที่ครูเตรียมไว้ให้ เช่น บัตรตัวเลขให้นักเรียนไปแปลงค่าเป็นค่าประมาณใกล้เคียงในหลักต่างๆ
    เช่น ให้นักเรียนที่ได้บัตรตัวเลขปัดเศษ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบและจำนวนเต็มร้อย
    วิธีคิด.. ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มสิบ คือ
    เขียนแทนด้วย 35,477 35,480
    ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 35,477 ให้เป็นจำนวนเต็มร้อย คือ 35,500
    เขียนแทนด้วย 35,477 35,500
    หมายเหตุ : เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำว่า "ค่าประมาณ"
    _นักเรียนมีพื้นฐานต่างๆ ในเรื่องของจำนวนต่างๆ ที่เขาเคยประมาณค่าอย่างง่ายมาในระดับประถมศึกษา ครูจึงชงด้วยโจทย์ดังกล่าว เพื่อเชื่อมเข้าสู่เนื้อหาสู่การเรียนรู้
    พอนักเรียนเริ่มจับpattern ของการปัดเศษได้แล้ว ครูจึงนำโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นมาให้ทุกคนคิด เป็นโจทย์เกี่ยวกับทศนิยม
    ซึ่งถ้าหากเป็นเศษของทศนิยมจะมองตรงข้างกันของจำนวนเต็ม เช่น ให้นักเรียนปัดเศษจำนวนที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ให้เป็นทศนิยมสองตำแหน่ง และทศนิยมสามตำแหน่ง
    วิธีคิด 1) ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 0.3579 ให้เป็นทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 0.36
    ดังนั้น 0.3579 0.36
    ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 0.3579 ให้เป็นทศนิยมสามตำแหน่ง คือ 0.358
    ดังนั้น 0.3579 0.358
    2) ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 12.6639 ให้เป็นทศนิยมสองตำแหน่ง คือ 12.66
    ดังนั้น 12.6639 12.66
    ค่าประมาณจากการปัดเศษของ 12.6639 ให้เป็นทศนิยมสามตำแหน่ง คือ 12.664
    ดังนั้น 12.6639 12.664

    _จากหน่วยย่อยนี้การประมาณค่านักเรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหา, การคิดวิเคราะห์รวมทั้งคิดอย่างสร้างสรรค์, การวางแผน, การเรียนรู้แบบรูปที่ซ่อนอยู่ เป็นต้น ล้วนเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งทางคณิตฯ
    และนักเรียนทุกคนได้สรุปการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ม.1 ใน Quarter 3/2557 ลงในกระดาษA4

    ตอบลบ