เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตฯ

เป้าหมาย(Understanding Goal) :
การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)

Week 4 - 6 : พื้นที่


Web เชื่อมโยงเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นที่ที่ครูจะใช้สอนเด็กนักเรียนในหน่วยนี้


เป้าหมายความเข้าใจ: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารและนำเสนอชนิดของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมได้ แก้ปัญหาโดยคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวและรูปวงกลมได้ สามารถเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยวิธีการที่หลากหลายและปรับใช้ความรู้กับการชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome






4 - 6

14 พ.ย. 2557
-
4 ธ.ค. 2557

โจทย์
พื้นที่

Key  Questions
- มีจำนวนคี่ 4 จำนวนเรียงกัน ถ้าจำนวนแรกกับจำนวนสุดท้ายรวมกันได้ 52 ผลคูณของสองจำนวนตรงกลางเป็นเท่าไร
- นักเรียนคิดว่าการเรียกชื่อของรูปสามเหลี่ยมตามลักษณะของด้าน / การเรียกชื่อของรูปสามเหลี่ยมตามลักษณะของมุม ใช้หลักการใดเป็นการใช้เรียกชื่อ
- นักเรียนคิดว่ารูปวงกลมหนึ่งรูปมีส่วนประกอบใดบ้าง / การหาพื้นที่ของรูปวงกลมมีวิธีการหาอย่างไร
- นักเรียนคิดว่ารูปวงกลมหนึ่งรูปมีส่วนประกอบใดบ้าง / การหาพื้นที่ของรูปวงกลมมีวิธีการหาอย่างไร

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับสมบัติที่ใช้ในการเรียนชื่อกำหนดรูปร่างสามเหลี่ยม
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับสมบัติที่ใช้ในการเรียนชื่อกำหนดรูปสี่เหลี่ยม
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับสมบัติที่ใช้ในการเรียนชื่อกำหนดรูปวงกลม
Wall Thinking ติดชิ้นงานความเข้าใจใบงาน / การ์ตูนช่อง / Mind mapping 

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- รูปสามเหลี่ยม , รูปสี่เหลี่ยม , วงกลม
- คอมพิวเตอร์ GSP
- แผนชาร์ตชนิดของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม
- สี / ปากกา / กระดาษบลู๊ฟ
ชง :  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม
มีจำนวนคี่ 4 จำนวนเรียงกัน ถ้าจำนวนแรกกับจำนวนสุดท้ายรวมกันได้ 52 ผลคูณของสองจำนวนตรงกลางเป็นเท่าไร?
ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ฝึกโจทย์ทักษะการคิด
- ครูพานักเรียนเล่นเกม พื้นที่แสนกลจากรูปประหลาด
เชื่อม : นักเรียนเล่นเกม ฝึกการคิดเชื่อมโยงสู่ความรู้เดิมของแต่ละคน
- ร่วมสรุปถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกมการคิดเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าว
- นักเรียนออกแบบเกมกิจกรรมการเล่น เกี่ยวกับพื้นที่ให้น้องหรือผู้อื่นสามารถเล่นและร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันได้
 ชง : ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด “นักเรียนคิดว่าการเรียกชื่อของรูปสามเหลี่ยมตามลักษณะของด้าน / การเรียกชื่อของรูปสามเหลี่ยมตามลักษณะของมุม ใช้หลักการใดเป็นการใช้เรียกชื่อ?
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมากระทำข้อมูลนำเสนอร่วมกัน
- เพื่อนๆ และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจหลักการใช้เรียกชื่อของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
 
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ารูปสี่เหลี่ยมมีกี่ชนิดใช้สมบัติใดบ้างในการจำแนก / การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมีวิธีการหาพื้นที่อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมากระทำข้อมูลนำเสนอร่วมกัน
- เพื่อนๆ และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจสมบัติที่ใช้จำแนกรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ ของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
ใช้ : นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาพื้นที่รูปร่างที่ครูกำหนดให้
- สรุปความเข้าใจลงสมุดทดคิดของนักเรียนแต่ละคน
 ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ารูปวงกลมหนึ่งรูปมีส่วนประกอบใดบ้าง / การหาพื้นที่ของรูปวงกลมมีวิธีการหาอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นคว้าข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมากระทำข้อมูลนำเสนอร่วมกัน
- เพื่อนๆ และครูผู้สอนช่วยกันร่วมอภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจส่วนประกอบของรูปวงกลมและวิธีการหาพื้นที่ของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
ใช้ : ใบงานการหาพื้นที่รูปวงกลม
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิด
ใช้ : นักเรียนสรุปการเรียนรู้ของหน่วยการหาพื้นที่ลงในสมุดวิชาคณิตศาสตร์
- ใบงานแก้โจทย์ปัญหาการคิดเกี่ยวกับการหาพื้นที่แบบประยุกต์
- สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับความยาว
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการต่างๆ ที่ใช้จำแนกรูปสามเหลี่ยมกับรูปสี่เหลี่ยม
- สืบค้นข้อมูลชนิดและสมบัติของรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- ทำชิ้นงานเกี่ยวกับพื้นที่

ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม และวงกลม
- การแก้โจทย์ปัญหาหาพื้นที่ฉงน
 - สรุปองค์ความรู้ในหน่วยนี้ลงในสมุดคณิตฯ


ความรู้
การสื่อสารและนำเสนอชนิดของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมได้ แก้ปัญหาโดยคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวและรูปวงกลมได้ สามารถเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับพื้นที่

ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับคู่อันดับและกราฟ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม รูปและถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับคู่อันดับและกราฟ ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างมีความประณีต
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดียว ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ
- ส่งงานตรงเวลา เมื่อได้การบ้าน ในเช้าวันถัดมานักเรียนฝึกทำการบ้านและส่งงานทุกครั้ง
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขณะที่มีผู้นำเสนอ คนที่รับฟังเขียนขมวดความเข้าใจลงในสมุดทดคิด



การหาพื้นที่ เด็กๆ เรียนมาเยอะแล้วช่วงที่เรียนระดับประถมศึกษา
พอมาระดับมัธยม ครูทบทวนเกี่ยวกับการหาพื้นที่จากรูปที่กำหนดให้ ดังนี้..
 
พอนักเรียนเจอกับโจทย์ข้อนี้ ต่างพากันฉงนงุนงงและครุ่นคิดหาวิธีการต่างๆ เพื่อจะมุ่งสู่คำตอบ
เด็กๆ หลายๆ คนต่างเข้ามาปรึกษาครูเกี่ยวกับวิธีการคิด ทำอย่างไรกับการหาพื้นที่รูปแบบนี้?
ครูพยายามกระตุ้นด้วยคำถามการคิด ให้นักเรียนช่วยอธิบาย แชร์ความเข้าใจกับผู้อื่น
หากเราใช้สูตรมาหาจะทำไรหรือเปล่า? , ทำไมต้องใช้สูตรล่ะ? , หากแยกพื้นที่ออกเป็นตารางๆ บ้างล่ะ เราจะต้องทำอย่างไร?

การที่ไม่บอกวิธีคิดเด็กๆ ผมต้องการให้พวกเขาได้ทบทวนกับเรื่องพื้นที่ ที่เคยเรียนมาในระดับประถม เมื่อเด็กๆ ได้ครุ่นคิดใคร่ครวญกับมันแล้วก็ เขาจะอยู่กับมัน โจทย์ที่ท้าทายกระบวนการคิดข้อนี้..ต่างฉงนสนเท่ห์ตามๆ กันกับการเริ่มต้นเรียนคณิตฯ ในหน่วยการหาพื้นที่

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้คณิต พื้นที่

โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นฝึกให้เด็กๆ ครุ่นคิดในการแก้โจทย์ปัญหามากขึ้น และเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมจากเรื่องการหาพื้นที่ต่างๆ มาประยุกต์แก้ปัญหา
     สิ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 

ทุกคนต่างจดจ่อกับการเรียนรู้เรืองพื้นที่มากขึ้น และอยากรับโจทย์ที่ท้าทายให้เขาเรียนรู้มากขึ้น เหมือนกับว่าแต่ละคนจะมีเป้าหมายชัดเจนในการเรียนรู้ในหน่วยนี้

ก่อนที่ครูจะพาไปเรียนรู้จากสถานการณ์จริงให้เห็นมองมองที่ลุ่มลึกขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น