เป้าหมายการเรียนรู้
โดยสาระสำคัญของการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการเรียนศาสตร์อื่น ที่มีความยากมากยิ่งขึ้นและ เพื่อสร้างกระบวนการคิดเชิงตัวเลข
web การสอนคณิตศาสตร์ ทุกๆ เนื้อหาใน Quarter 3/2557 |
เป้าหมายการสอนคณิตศาสตร์ แต่ละหน่วยใน Quarter 4/2557
หน่วย
|
เป้าหมายการสอนแต่ละ หน่วย
|
เหตุผล
|
ทบทวน – ทักษะการคิด
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
เชื่อมโยงกับความรู้ มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
|
เป็นการเตรียมความพร้อมพื้นฐานเกี่ยวกับทักษะให้กับนักเรียน
ม.1 ที่กำลังเริ่มต้นมาสู่ระดับพี่ๆ มัธยม
|
ความยาว
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับความยาวการเปรียบเทียบหน่วยความยาวในระบบเดียวกันและต่างระบบแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
ได้ และให้เหตุผลในการเลือกใช้หน่วยการวัดความยาวได้และปรับใช้ความรู้เชื่อมโยงกับการชีวิตประจำวันได้
|
ในเรื่องการวัดสาระที่
2 นักเรียนระดับมัธยมจะเริ่มด้วยการปูพื้นฐานทบทวนการวัดความยาวในระดับที่ท้าทายมากขึ้น
|
พื้นที่
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารและนำเสนอชนิดของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมได้
แก้ปัญหาโดยคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวและรูปวงกลมได้ สามารถเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยวิธีการที่หลากหลายและปรับใช้ความรู้กับการชีวิตประจำวันได้
|
อยากให้นักเรียนมองเห็นภาพการประมาณค่าของขนาดพื้นที่
และการหาพื้นที่ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และมีวิธีคิดที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิม
และการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่นให้เข้าใจ
|
การประมาณค่า
|
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับการให้เหตุผลในการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ
โดยการสื่อสารและนำเสนอ ใช้วิธีประมาณค่าเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคิดคำนวณ เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
ได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และปรับใช้ความรู้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้
|
ให้นักเรียนเกิดทักษะสำคัญทางคณิตศาสตร์คือการประมาณค่า
สร้างสรรค์วิธีกาคิดที่เชื่อมโยงสู่สถานการณ์จริง
และอธิบายถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ เห็นภาพได้
|
ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ Quarter 3
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
1
|
โจทย์
ทบทวนกิจกรรมการคิด
ก่อนเรียนQuarter 3
Key Question
นักเรียนมีวิธีคิดอย่างไร /
ใครมีวิธีคิดแตกต่างจากโจทย์นี้อย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด
Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คอมพิวเตอร์ power point / GSP
|
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด
“นักเรียนมีวิธีคิดอย่างไร / ใครมีวิธีคิดแตกต่างจากโจทย์นี้อย่างไรบ้าง”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
และนำเสนอวิธีคิดต่างๆ
- ครูช่วยจัดระบบข้อมูล
ชวนนักเรียนแต่ละคนคิด เพื่อให้เห็นทักษะต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในโจทย์แต่ละข้อ กระตุ้นด้วยคำถามให้นักเรียนช่วยแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำโจทย์การคิด
|
ภาระงาน
-
ร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้การบ้านปิดเทอม
- แก้ปัญหาโจทย์การคิด
- ทำชิ้นงานจากโจทย์ใบงานที่ให้
ชิ้นงาน
- สมุดทดคิดทางคณิตฯ
- แผ่นโจทย์การคิด
- ใบงาน / โจทย์จากโปรแกรมGSP
|
ความรู้
ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
เชื่อมโยงกับความรู้ มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
-
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
: ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
..................................
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
2-3
|
โจทย์
ความยาว
Key Questions
- เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัดมีอะไรบ้างที่นักเรียนรู้จัก
/ ใช้งานอย่างไรบ้าง
- หน่วยวัดในระบบต่างๆ
ที่นักเรียนรู้จักมีหน่วยอะไรบ้าง การเทียบค่าระบบผ่านหน่วยต่างๆ เราจะมีวิธีการเทียบค่าหน่วยเทียบอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เครื่องมือวัดความยาว
- ตารางเทียบค่าหน่วยวัดความยาว
- คอมพิวเตอร์
|
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด
“นักเรียนคิดว่าเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัดมีอะไรบ้างที่นักเรียนรู้จัก /
ใช้งานอย่างไรบ้าง”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
และนำเสนอวิธีคิดต่างๆ
- ครูนำอุปกรณ์ที่นักเรียนเสนอมาให้นักเรียนสังเกต
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด “นักเรียนคิดว่าหน่วยวัดในระบบต่างๆ
ที่นักเรียนรู้จักมีหน่วยอะไรบ้าง การเทียบค่าระบบผ่านหน่วยต่างๆ เราจะมีวิธีการเทียบค่าหน่วยเทียบอย่างไร”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูช่วยจัดระบบข้อมูล
ชวนนักเรียนแต่ละคนคิด เพื่อให้เห็นทักษะต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในโจทย์แต่ละข้อ กระตุ้นด้วยคำถามให้นักเรียนช่วยแสดงความคิดเห็น
- ครูชวนนักเรียนดูตารางเทียบค่าหน่วยการวัดความยาวตามระบบต่างๆ
|
ภาระงาน
- ร่วมเสนออุปกรณ์การวัดความยาว
- แก้ปัญหาโจทย์สถานการณ์ต่างๆ
ที่ครูท้าทาย
- ทำชิ้นงานจากโจทย์ใบงานที่ให้
ชิ้นงาน
- สมุดทดคิดทางคณิตฯ
- โจทย์สถานการณ์ต่างๆ
ที่ให้นักเรียนแก้ปัญหา
- ใบงานโจทย์การเทียบค่าหน่วยต่างๆ
ตามระบบวัดความยาว
|
ความรู้
ความยาวการเปรียบเทียบหน่วยความยาวในระบบเดียวกันและต่างระบบแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
ได้ และให้เหตุผลในการเลือกใช้หน่วยการวัดความยาว
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
-
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
มาตรฐาน
ค 2.1 เลือกใช้หน่วยการวัดในระบบต่างๆ
เกี่ยวกับความยาว พื้นที่ และปริมาตรได้อย่างเหมาะสม : ตัวชี้วัด ม.1/2
มาตรฐาน ค 2.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับความยาว พื้นที่
พื้นที่ผิว และปริมาตรในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ : ตัวชี้วัด ม.1/2
ต่างๆ ได้มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6 |
...............................
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
4 - 6
|
โจทย์
พื้นที่
Key Question
- นักเรียนคิดว่าการเรียกชื่อของรูปสามเหลี่ยมตามลักษณะของด้าน
/ การเรียกชื่อของรูปสามเหลี่ยมตามลักษณะของมุม ใช้หลักการใดเป็นการใช้เรียกชื่อ
เครื่องมือคิด
- Show and Share
- wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- รูปสามเหลี่ยม , รูปสี่เหลี่ยม
, วงกลม
- คอมพิวเตอร์ GSP
- แผนชาร์ตชนิดของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม
- สี / ปากกา / กระดาษบลู๊ฟ
|
- ครูพานักเรียนเล่นเกม ‘พื้นที่แสนกลจากรูปประหลาด’
- นักเรียนออกแบบเกมกิจกรรมการเล่น
เกี่ยวกับพื้นที่ให้น้องหรือผู้อื่นสามารถเล่นและร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันได้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่ารูปสี่เหลี่ยมมีกี่ชนิดใช้สมบัติใดบ้างในการจำแนก /
การหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมีวิธีการหาพื้นที่อย่างไรบ้าง?”
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาพื้นที่รูปร่างที่ครูกำหนดให้
-
ใบงานแก้โจทย์ปัญหาการคิดเกี่ยวกับการหาพื้นที่แบบประยุกต์
-
สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)
|
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้
เกี่ยวกับความยาว
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการต่างๆ
ที่ใช้จำแนกรูปสามเหลี่ยมกับรูปสี่เหลี่ยม
- สืบค้นข้อมูลชนิดและสมบัติของรูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม
- ทำชิ้นงานเกี่ยวกับพื้นที่
ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม และวงกลม
-
การแก้โจทย์ปัญหาหาพื้นที่ฉงน
- สรุปองค์ความรู้ในหน่วยนี้ลงในสมุดคณิตฯ
|
ความรู้
การสื่อสารและนำเสนอชนิดของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมได้
แก้ปัญหาโดยคำนวณหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
รูปสี่เหลี่ยมคางหมู รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวและรูปวงกลมได้ สามารถเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับพื้นที่
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
-
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
มาตรฐาน
ค 2.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับความยาว พื้นที่ พื้นที่ผิว
และปริมาตรในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆได้ : ตัวชี้วัด ม.1/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6 |
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
7 – 9
|
โจทย์
การประมาณค่า
Key Question
นักเรียนคิดว่าค่าของ 17,855 +
42,028 โดยวิธีปัดเศษมีค่าประมาณเท่าไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เกม ‘ความยาวประหลาด และการคาดเดา’
- คอมพิวเตอร์ GSP
- แผ่นโจทย์การประมาณค่า
- สี / ปากกา / กระสีแข็ง
|
- ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม
- ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
ฝึกโจทย์ทักษะการคิด
- ครูพานักเรียนเล่นเกม ‘ความยาวประหลาด และการคาดเดา’
-
สรุปถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกมการคิดเกี่ยวกับการคาดเดาการกะประมาณค่าของความยาวนั้น
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามการคิด
“นักเรียนคิดว่าค่าของ
17,855 + 42,028 โดยวิธีปัดเศษมีค่าประมาณเท่าไร”
-
ครูช่วยจัดระบบวิธีคิดของนักเรียน
Ex วิธีคิด
หาค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มพันของแต่ละจำนวนได้ ดังนี้
17,855
18,000
42,028
42,000
และ
18,000 + 42,000
= 60,000
- สรุปการเรียนรู้ของหน่วยการประมารค่าทางคณิตศาสตร์
-
นักเรียนทำใบงานและสร้างชิ้นงาน
|
ภาระงาน
- ทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้การประมาณค่า
- ทำชิ้นงานสรุปความเข้าใจ
- นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์การใช้การประมาณค่าในการคำนวณที่กำหนดให้และสรุปหน่วยการเรียนรู้การประมาณค่า
ชิ้นงาน
-
สรุปการเรียนรู้ของหน่วยการประมารค่าทางคณิตศาสตร์
-
ใบงานการใช้การประมาณค่าในการคำนวณ
- สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง , ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)
|
ความรู้
การให้เหตุผลในการบอกวิธีการประมาณค่าในการคำนวณ
โดยการสื่อสารและนำเสนอ ใช้วิธีประมาณค่าเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในคิดคำนวณ
เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
-
มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
มาตรฐาน ค 1.3 มีความเข้าใจเกี่ยวกับการประมาณค่าและนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
: ตัวชี้วัด ม.1/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร
การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.1/1, ม.1/2, ม.1/3, ม.1/4, ม.1/5, และ ม.1/6
|
กระบวนการเรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์โจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยโจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์อาจมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หรือสถานการณ์จำลองก็ได้
- นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความคิดเห็น อธิบายการวิธีคิด ให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง (Black Broad Share)
- นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความคิดเห็น อธิบายการวิธีคิด ให้เพื่อนๆ และคุณครูฟัง (Black Broad Share)
- คุณครูและนักเรียน เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการคิดที่เกิดขึ้น พร้อมแสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์เพื่อจัดระบบข้อมูลที่เกิดขึ้น ในกระบวนการนี้ เป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะนักเรียนแต่ละคนจะมีวิธีคิดที่แตกต่างกัน แต่ได้คำตอบเดียวกัน ซึ่งคุณครูจะให้นักเรียนได้วิเคราะห์โจทย์ที่มีระดับความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยโจทย์ที่ให้นั้นจะต้องมีความหลากหลายของกระบวนการหาคำตอบ และท้าทายต่อกระบวนการคิดของนักเรียนเป็นสำคัญ
- การจับสื่อจริง เป็นขั้นตอนกระบวนการหนึ่งที่จัดอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญเนื่องจากจะช่วยให้นักเรียนเกิดภาพในสมองที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังช่วยให้ได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ อาทิเช่น ทักษะการคิดและทักษะนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละคนได้ออกแบบโจทย์ใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถสังเกตได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจต่อกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างไร เนื่องจากการออกแบบโจทย์ใหม่ จะต้องใช้ทักษะความเข้าใจที่เกิดขึ้นในกระบวนเรียนรู้ที่ผ่านมา มาปรับประยุกต์ใช้
- นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ เช่น การใช้ในการวิเคราะห์ หรือคำนวณต่างๆในวิชาอื่นๆ
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
- การจับสื่อจริง เป็นขั้นตอนกระบวนการหนึ่งที่จัดอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญเนื่องจากจะช่วยให้นักเรียนเกิดภาพในสมองที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังช่วยให้ได้พัฒนาทักษะด้านต่างๆ อาทิเช่น ทักษะการคิดและทักษะนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละคนได้ออกแบบโจทย์ใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่ครูผู้สอนสามารถสังเกตได้ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจต่อกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างไร เนื่องจากการออกแบบโจทย์ใหม่ จะต้องใช้ทักษะความเข้าใจที่เกิดขึ้นในกระบวนเรียนรู้ที่ผ่านมา มาปรับประยุกต์ใช้
- นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ เช่น การใช้ในการวิเคราะห์ หรือคำนวณต่างๆในวิชาอื่นๆ
การสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา : การสอนคณิตศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Patterning), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และทักษะการสื่อสาร (Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
การสอนจึงให้ความสำคัญที่เข้าใจความคิดรวบยอดก่อน และค้นหาวิธีที่หลากหลายร่วมกัน วิธีการที่ได้จึงเป็นคำตอบที่สำคัญกว่าคำตอบจริงๆ โดยใช้ขั้นของการสอนดังนี้
ชง หมายถึง ขั้นที่ครูตั้งคำถาม ตั้งโจทย์ หรือโยนปัญหาให้ผู้เรียนได้เผชิญ ผู้เรียนจะได้คิดและการลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง
เชื่อม หมายถึง การนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีแก้โจทย์ปัญหาของแต่ละคน ครูไม่จำเป็นต้องตัดสินว่าวิธีใดถูกหรือผิด เพราะสุดท้ายเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นนักเรียนแต่ละคนจะเห็นมุงมองที่หลากหลาย เห็นช่องโหว่ของบางวิธี ได้ตรวจสอบวิธีแต่ละวิธี และในที่สุดจะรู้คำตอบเอง สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเองเข้าใจไปใช้ได้ นี่เป็นทักษะของการรู้ตัว รู้ว่าตัวเองรู้หรือไม่รู้(Meta cognition) เป็นทักษะที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองต่อไป ในขั้นนี้ครูแค่ตั้งคำถาม “ใครได้คำตอบแล้ว?” “มีวิธีคิดอย่างไร?” “ใครมีวิธีอื่นบ้าง?” “คุยกับเพื่อนว่าเห็นอะไรที่คล้ายกันหรือแตกต่างกันบ้าง” ครูที่เก่งจะไม่ผลีผลามบอกคำตอบแต่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนพบคำตอบ คำตอบที่เราต้องการจริงคือวิธีการ ในขั้นตอนนี้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะทั้งหมด ทั้งทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการมองเห็นภาพหรือรูปแบบที่ซ่อนอยู่ (Look for the Pattern), ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการให้เหตุผล (Creative Thinking and Reasoning) และ ทักษะการสื่อสาร(Communication) เพื่อให้เกิดความร่วมมือและพบวิธีหรือคำตอบเอง (Meta cognition)
ใช้ หมายถึง ขั้นของการให้โจทย์ใหม่ที่คล้ายกัน หรือยากขึ้น หลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาจากขั้นตอนที่ 2 แล้ว เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้ประลองเอง จะได้สร้างความเข้าใจให้คมชัดขึ้น ครูจะได้ตรวจสอบอีกรอบว่าเด็กแต่ละคนเข้าใจมากน้อยเพียงใด